ทฤษฎีคืออะไร

ทฤษฎีคืออะไร       ทิศนา  แขมมณี (2554:หน้า40)   
                ทฤษฎีเกิดขึ้นได้เพราะคนเรามีความสนใจในปรากฎการณ์ต่างๆรอบตัว และขณะที่สังเกตปรากฏการณ์ต่างๆเหล่านั้นก็เกิดความคิดเบื้องต้น เกี่ยวกับปรากฏการณ์นั้นขึ้น ความคิดเบื้องต้นนี้เกิดขึ้นจากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประกอบกับความคิดอุปนัยและความคิดนิรนัย
                อย่างไรก็ตาม เมื่อคนเกิดความคิดเบื้องต้นขึ้นมาแล้วความคิดนั้นอาจจะได้รับการยอมรับหรือไม่ได้รับการยอมรับก็ได้
                ทฤษฎีที่เกิดขึ้นจะถือว่าเป็นทฤษฎีได้จะต้องมีคุณสมบัติอย่างน้อย 3 ประการ คือ
1.             จะต้องสามารถอธิบายความจริงหลักของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้
2.             จะต้องสามารถนิรนัยความจริงหลักนั้นออกมาเป็นความจริงอื่นๆได้
3.             จะต้องสามารถทำนายปรากฎการณ์นั้นได้
อย่างไรก็ตามแม้จะมีผู้ที่มีความเห็นตรงกันเป็นจำนวนมากกว่าทฤษฎีการศึกษาแท้จริงก็คืออีกรูปแบบหนึ่งของปรัชญาทางการศึกษา แต่ก็มีบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งที่เห็นว่าปรัชญาการศึกษาและทฤษฎีการศึกษามีความแตกต่างหรือมีส้นแบ่งเขตที่ชัดเจนดังได้กล่าวไว้ในบทที่ 3 กล่าวคือ “ปรัชญาการศึกษาจะต้องตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาแม่บทอันใดอันหนึ่งถ้าไม่ได้แตกหน่อออกจากปรัชญาแม่บทใดๆ และวจะเป็นเพียงหลักการหรือทฤษฎีการศึกษา”

เพื่อให้ผู้ที่สนใจและผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการจัดการศึกษาสามารถศึกษาหลักการเรียนรู้และการสอนในอดีตมาจนถึงปัจจุบันได้โดยสะดวก จึงควรผ่านกระบวนการต่างๆที่สำคัญมี 6 ขั้นตอนดังนี้
1.             การศึกษาค้นคว้าในรายละเอียด
2.             การวิเคราะห์เพื่อแยกแยะประเด็นและสาระเพื่อให้เกิดความเข้าใจในแต่ละเรื่อง
3.             การกลั่นกรองเพื่อให้ได้แก่นหรือสาระสำคัญของเรื่อง
4.             การอภิปรายเพื่อประยุกต์หลักทฤษฎีการเรียนรู้สู่หลักการสอน
5.             การปรับและเพิ่มเติมความเหมาะสม
6.             การเรียบเรียงให้ง่ายต่อการอ่านและเข้าใจ
แนวคิดเกี่ยวกับธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้ เริ่มต้นจากแนวคิดของการมองธรรมชาติของมนุษย์ใน 2 ลักษณะคือ ด้านจริยธรรม และด้านพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์
แนวที่ 1 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เกิดจากแรงกระตุ้นภายในตัวเอง
แนวที่ 2 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมมิใช่มาจากแรงกระตุ้นภายใน
แนวที่ 3 เชื่อว่าพฤติกรรมหรือการกระทำของมนุษย์เกิดขึ้นทั้งจากสิ่งแวดล้อมและแรงกระตุ้นภายในตัวบุคคล
เอกสารอ้างอิง    ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า 40.