ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่20และการประยุกต์สู่การสอน

2. ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และการประยุกต์สู่การสอน ทอลองตาม
ทิศนา แขมมณี (2554:หน้า79-103)
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์มากขึ้นเป็นลำดับดังนี้
2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม
                นักคิดกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลางคือไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า และการตอบสนองสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับพฤติกรรมมากเพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดสามารถวัดได้และทดสอบได้
                2.1.1 ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์
                ก. ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์ สรุปได้ดังนี้
                                1. กฎแห่งความพร้อม
                                2. กฎแห่งการฝึกหัด
                                3. กฎแห่งการใช้
                ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                                เปิดโอกาสให้ผูเรียนได้เรียนแบบลองผิดลองถุกบ้าง จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในวิธีการแก้ปัญหา
                2.1.2 ทฤษฎีการวางเงื่อนไข
                ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
                                พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขมีแนวโน้มที่จะรับรู้สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันและจะตอบสนองเหมือนๆกัน
ข.หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                นำความต้องการทางธรรมชาติของผู้เรียนมาใช้เป็นสิ่งเร้าสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี นำเรื่องที่เคยสอนแล้วมาสอนใหม่ มีการจัดกิจกรรมการเรียนให้ต่อเนื่องและใช้สิ่งเร้าหลายแบบในการส่งเสริมพฤติกรรมของผู้เรียน
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขของวัตสัน
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้
1.             พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้
2.             เมื่อสามารถทำให้เกิดพฤติกรรมใดๆได้ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ข.      หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.             ในการสร้างพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้เกิดขึ้นในผู้เรียนควรพิจารณาสิ่งจูงใจหรือสิ่งเร้าที่เหมาะสม
2.             การลบพฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนาทำได้โดยหาสิ่งเร้าตามธรรมชาติที่ไม่ได้วางเงื่องไขมาช่วย
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้
1.             กฎแห่งความต่อเนื่อง
2.             การเรียนรู้เกิดขึ้นได้แม้เพียงครั้งเดียว
3.             กฎของการกระทำครั้งสุดท้าย
4.             หลักการจูงใจ
ข.      หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.             ขณะสอนครูควรทำการสังเกตการณ์กระทำของนักเรียน
2.             ในขณะสอนควรวิเคราะห์งานออกเป็นส่วนย่อยๆ
3.             ในการจบบทเรียนไม่ควรปล่อยให้นักเรียนจบการเรียนโดยได้รับคำตอบผิดๆ
4.             การสร้างแรงจูงใจให้เกิดกับนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญ


ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้
1.             การกระทำใดๆถ้าได้รับการเสริมแรงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก
2.             การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
3.             การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4.             การเสริมแรงช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการ
ข.      หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.             ในการสอนควรให้การเสริมแรงหลังการกระทำพฤติกรรม
2.             การเว้นระยะการเสริมแรงอย่างไม่เป็นระบบ
3.             การลงโทษที่รุนแรงเกินไปมีผลเสียมาก
4.             การปรับเปลี่ยพฤตกรรมควรมีการแยกแยะขั้นตอน
2.1.3                     ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้
1.             กฎแห่งสมรรถภาพในการตอบสนอง
2.             กฎแห่งลำดับกลุ่มนิสัย
3.             กฎแห่งการให้จะบรรลุเป้าหมาย
ข.      หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.             การจัดการสอนควรคำนึงถึงความพร้อมของผู้เรียน
2.             ผู้เรียนมีระดับการแสดงออกไม่เท่ากัน
3.             การให้การเสริมแรงในช่วงที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายมากที่สุด
2.2                ทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพุทธินิยม
กลุ่มพุทธินิยมหรือกลุ่มความรู้ความเข้าใจ หรือกลุ่มที่เน้นกระบวนการทางปัญญาหรือความคิด
                                2.2.1 ทฤษฎีของเกสตัลท์
                                                ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
                                                1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางความคิด
                                                2. บุคลจะเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นสิ่งเร้าที่เป็นส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
                                                3. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ
                                                                3.1 การรับรู้
                                                                3.2 การหยั่งเห็น
                                                4. กฎการจัดระเบียบการรับรู้
                                                5. การรับรู้แบบการหยั่งเห็น
                                                ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
                                                1. กระบวนการคิดเป็นกระบวนการสำคัญในการเรียนรู้
                                                2. การเสนอส่วนย่อยจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี
                                                3. ประสบการณืจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขปัญหาได้ดี
                                                4. การจัดประสบการณ์ใหม่ควรให้มีความสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
                                                5. การจัดรัเบียบสิ่งเร้า
                                                6. การสอนอาจใช้ประสบการณ์ที่หลากหลายมาสอน
                                        7.  เนื้อหาในบทเรียนควรมีความต่อเนื่องกัน
                                        8. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ที่หลากหลาย
2.2.2 ทฤษฎีสนาม
ก. ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมของคนมีพลังงานและทิศทาง
2. การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีแรงจูงใจ
ข. หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1. การช่วยให้ผูเรียนเกิดการเรียนรู้จำเป็นต้องอาศัยการทำความเข้าใจ
2. การจัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้เรียนควรจัดทั้งกายถาพและจิตวิทยา
3. การสร้างแรงจูงใจ
2.2.3 ทฤษฎีเครื่องหมาย
ทอลแมน กล่าวว่า การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้
1.             ในการเรียนรู้ต่างๆผู้เรียนมีความคาดหมายรางวัล
2.             ขณะที่ผู้เรียนพยายามไปให้ถึงจุดหมายจะมีการเรียนรู้เครื่องหมายตามไปด้วย
3.             การเรียนรู้ในตัวบุคลจะไม่แสดงออกทันที
4.             ผู้เรียนมีความสามารถที่จะปรับการเรียนรู้ไปตามสถานะที่เปลี่ยนไป
ข.      หลักการจัดการศึกษา/การสอน
1.             การสร้างแรงขับ
2.             ครูควรให้เครื่องหมายสัญลักษณ์ในการบรรลุเป้าหมาย
3.             การเรียนรู้บางอย่างอาจไม่แสดงออกในทันที
2.2.4                        ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
ก.      ทฤษฎีการเรียนรู้
1.             พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆดังลำดับขั้น
1.1      ขั้นรับรู้ประสาทสัมผัส
1.2 ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด
1.3 ขั้นการคิดแบบรูปธรรม
1.4 ขั้นการคิดแบบนามธรรม
2. ภาษและกระบวนการคิดของเด็กแตกต่างจากผู้ใหญ่
3. กระบวนการทางสติปัญญามีลักษณะดังนี้
                                                3.1 การซึมซับหรือการดูดซึม
                                                3.2 การปรับและการจัดระบบ
                                                3.3 การเกิดความสมดุล
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
1.             การพัฒนาเด็กควรคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปํญญาของเด็ก
1.1 การจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อเด็ก
1.2 เด็กแต่ละคนมีพัฒนาการแตกต่างกัน
1.3 ในการสอนควรใช้สิ่งที่เป็นรูปธรรม
                2.สนใจดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
                3. เด็กจะรับรู้ส่วนรวมได้ดีกว่าส่วนย่อย
                4. การสอนเด็กควรเริ่มจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคย
                5. เปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์
ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
                ทฤษฏีการเรียนรู้
1.จัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกับพัฒนาการเด็ก
2.การจัดหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับความพร้อมของผู้เรียน
3.การคิดแบบหยั่งรู้
4.แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญ
5.ทฤษฏีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ๆคือ
                                5.1ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ
                                5.2ขั้นการเรียนรู้จากความคิด
                                5.3ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม
6.การเรียนรู้เกิดจากการแยกแยะประเภทสิ่งของต่างๆ
7.การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุดคือการให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                1.กระบวนการค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นกระบวนการที่มีความหมายต่อผู้เรียน
                2.การสอนควรมีการวิเคราะห์และจัดโครงสร้างเนื้อหาสาระก่อน
                3.การจัดหลักสูตรแบบเกลียว
                4.การสอนความคิดรวบยอดมีความจำเป็นต่อผู้เรียน

ทฤษฏีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
                ออซูเบล เชื่อว่าการเรียนรู้มีความหมายแก่ผู้เรียน หากผู้เรียนนั้นสามารถเชื่อมโยงกับสิ่งหนึ่งที่รู้มาก่อน
                2.3ทฤษฏีการเรียนรู้กลุ่มมนุษย์นิยม (Humanism) และหลักการศึกษา / การสอน
                นักคิดกลุ่มมนุษย์นิยมให้ความสำคัญของความเป็นมนุษย์ว่ามีคุณค่า มีความดีงาม มีความสามารถ มีความต้องการ และแรงจูงภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน
                                2.3.1 ทฤษฏีการเรียนรู้ของมาสโลว์ (Maslow , 1962)
                ทฤษฏีการเรียนรู้
                1.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการพื้นฐานตามธรรมชาติเป็นลำดับขั้น
                2.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการที่จะรู้จักตนเองและพัฒนาตนเอง
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                1.การเข้าใจถึงความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
                2.การเรียนรู้ได้ดีจำเป็นต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานเสียก่อน
                3.ครูควรรู้ว่าผู้เรียนแต่ละคนมีความต้องการพื้นฐานระดับใด
                4.การให้อิสรภาพแก่ผู้เรียน

                                2.3.2 ทฤษฏีการเรียนรู้ของรอเจอร์ส (Rogers , 1969)
                ทฤษฏีการเรียนรู้มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้ดี หากอยู่ในสภาพการณ์ที่ผ่อนคลายและอิสระ
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                1.การจัดสภาพแวดล้มทางการเรียนให้อบอุ่น ปลอดภัย
                2.ครูควรมีการสอนแบบชี้แนะ
                3.ในการจัดการสอนควรเน้นการเรียนรู้กระบวนการ

                                2.3.3 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโคมส์(Combs)
                แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                                ความรู้สึกของผู้เรียนมีความสำคัญต่อการเรียนรู้มาก เพราะความรู้สึกและเจตคติของผู้เรียนมีอิทธิพลต่อกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
การคำนึงถึงความรู้สึกของผู้เรียน การสสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้

                2.3.4 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของโนลส์(Knowles)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                1.ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้มากหากมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง
                2.การเรียนรู้ของมนุษย์เป็นกระบวนการภายใน
3.มนุษย์จะเรียนรู้ได้ดีมากหากมีอิสระ
4.มนุษย์ทุกคนมีลักษณะเฉพาะตน
5.มนุษย์เป็นผู้มีความสามารถและเสรีภาพในการตัดสินใจ
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                1.การให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน
                2.ส่งเสริมให้ผู้เรียนนำประสบการณ์เดิมมาทำความเข้าใจกับประสบการณ์ใหม่
3.ให้อิสระกับผู้เรียน
4.เข้าใจและส่งเสริมความแตกต่างระหว่างบุคคล
5.ส่งเสริมให้ผู้เรียนตัดสินใจด้วยตนเอง
               
                2.3.5 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของแฟร์(Faire)
แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
ผู้เรียนต้องรู้สึกปลดปล่อยจากการกดขี่ของครูผู้สอนแบบเก่า
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                                ระบบการจัดศึกษาควรเป็นระบบที่ให้อิสรภาพและเสรีภาพในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน

                                2.3.6 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของอิลลิช(Illich)
                แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                                สังคมแห่งการเรียนรู้เป็นสังคมที่ต้องล้มเลิกระบบโรงเรียนการศึกษาควรเป็นแบบการศึกษาตลอดชีวิต
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                ไม่จำเป็นต้องทำในระบบโรงเรียนควรจัดในลักษณะต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
               
                                2.3.7 แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนีล(Neil)
                แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้
                                นีล (Neil) กล่าวว่า มนุษย์เป็นผู้ที่มีศักดิ์ศรี มีความดีโดยธรรมชาติหากมนุษย์อยู่ในสภาพแวดล้มที่อบอุ่นบูรณ์ไปด้วยความรัก มีอิสระภาพและเสรีภาพมนุษย์จะพัฒนาไปในทางที่ดีทั้งต่อตนเองและสังคม
หลักการจัดการศึกษา / การสอน
                การให้เสรีภาพอย่างสมบูรณ์แก่ผู้เรียนในการเรียนเมื่อพร้อมที่จะเรียนจะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาไปตามธรรมชาติ
เอกสารอ้างอิง   ทิศนา แขมมณี. 2554. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. หน้า 79-103